back

คำถามที่ ๑๓ : การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺเป็น ชิรีกหรือ

next

คำถามที่ ๑๓ : การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺเป็น ชิรีกหรือ

คำตอบ : หากพิจารณาด้วยสติปัญญา ในมุมมองของอัล-กุรอาน จะพบว่ามนุษย์ทุกคนตลอดจนสรรพสิ่งหลายบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม ในการกำเนิดล้วนต้องพึ่งพิงพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น และในการดำรงอยู่ก็ต้องอาศัยพระองค์อีกเช่นกัน อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

يَا أيُّهَا النَّاسُ أنْتُمُ الفُقُرَاءُ اِلَى الله والله هُوَ الغَنِىُّ الْحَمِيْد

โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องพึ่งพิงอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺนั้นทรงมั่งมีอย่างล้นเหลือ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ [1]

وَمَا النَّصْرُ إِلاَّ مِنْ عِندِ اللّهِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ

และการช่วยนั้น เฉพาะจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น [2]

إيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ

 

เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราขอความช่วยเหลือ [3]

ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับคำตอบข้างบนขออธิบายว่า

๑. แนวทางแรก มนุษย์ได้ขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันหรือจากสรรพสิ่งอื่น โดยถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มี หรือมีการกระทำที่เป็นเอกเทศ  ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงพระผู้เป็นเจ้า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ (ซบ.) ในทำนองนี้เป็นชิรีกอย่างแน่นอน อัล-     กุรอานกล่าวว่า

قُلْ مَن ذَا الَّذِي يَعْصِمُكُم مِّنَ اللَّهِ إِنْ أَرَادَ بِكُمْ سُوءًا أَوْ أَرَادَ بِكُمْ رَحْمَةً وَلَا يَجِدُونَ لَهُم مِّن دُونِ اللَّهِ وَلِيًّا وَلَا نَصِيرًا

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ถ้าอัลลอฮฺประสงค์จะทรงลงโทษพวกท่าน ใครเล่าจะปกป้องพวกท่านให้รอดพ้นไปจากอัลลอฮฺ หรือทรงประสงค์จะให้ความเมตตาแก่พวกท่าน และพวกเขาจะไม่พบใครอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ที่จะเป็นผู้คุ้มครองและช่วยเหลือพวกเขา [4]

๒. แนวทางที่สอง ขณะที่เขาขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกัน เขาได้คำนึงเสมอว่าผู้นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ถูกสร้าง และต้องอิงอาศัยอัลลอฮฺ (ซบ.) ตลอดเวลา เขาไม่ได้เป็นอิสระไปจากพระองค์ การดำรงอยู่และการมีของเขา ล้วนได้รับการสนับสนุนมาจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรทั้งสิ้น ในความหมายการแก้ไขปัญหาบางอย่างของมนุษย์ อัลลอฮฺทรงประทานการแก้ไขโดยผ่านเขา

บนพื้นฐานความคิดดังกล่าว หากต้องการให้เขาเป็นผู้ช่วยเหลือถือว่าเขาเป็นเพียงสื่อ ที่พระผู้อภิบาลได้มอบหมายให้เขาเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหา หรือสนองตอบความต้องการบางประการแก่มนุษย์ ฉะนั้นการขอความช่วยเหลือทำนองเช่นนี้ ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วย เหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้เขาเป็นสื่อ ในการขจัดปัญหาความต้องการแก่คนอื่น ทรงทำให้เขามีความสามารถ ซึ่งพระองค์คือสาเหตุที่แท้จริง และหากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้วางอยู่บนความช่วยเหลือที่เป็นสาเหตุและมูลเหตุ หมายถึงถ้าหากมนุษย์ไม่ขอความช่วยเหลือจากเขา ชีวิตมนุษย์ก็จะมีแต่ความรันทด ดังนั้นถ้ามนุษย์ได้สัมพันธ์กับพวกเขาบนพื้นฐานของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งในความเป็นจริงพวกเขาคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และการมีอยู่ของพวกเขาก็มาจากพระองค์ การช่วย เหลือและการสนับสนุนทั้งหลายของพวกเขามาจากพระองค์ ดังนั้นการขอความช่วยเหลือในทำนองนี้ ไม่ได้ขัดแย้งกับความเป็นเอกะของพระองค์ หรือการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียวแต่อย่างไร

ถ้าเกษตรกรคนหนึ่งที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ยอมรับความเป็นเอกะของพระองค์ และเขาต้องอิงอาศัยการช่วยเหลือจากตัวการอื่น ๆ ด้วย เช่น พื้นดิน น้ำ อากาศหรือแม้แต่แสงแดดเพื่อเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์  ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้สิ่งเหล่านั้นมีกำลังและความสามารถเป็นไป ประกอบกับเกษตรกรคนนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาต่ออำนาจและเดชานุภาพของพระองค์อยู่ก่อนแล้ว

เป็นที่ชัดเจนว่าการขอความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น เข้ากันได้อย่างดีกับความเป็นเอกะและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว ทว่าอัล-กุรอานเองได้เชิญชวนและสอนเราให้ทำการขอความช่วยเหลือ และอิงอาศัยกับสรรพสิ่งอื่น เช่น นะมาซ และความอดทน อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلوةِ

และจงแสวงหาความช่วยเหลือ ด้วยความอดทน และการนะมาซ [5]

แน่นอนความอดทนอดกลั้นนั้นเป็นภารกิจของมนุษย์ และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องขอความช่วยเหลือจากพวกเขา อย่างไรก็ตามการขอความช่วยเหลือลักษณะอย่างนี้ ไม่ขัดกับความเป็นเอกะของพระองค์แน่นอน


 

[1] ฟาฏิร / ๑๕

[2] อาลิอิมรอน / ๑๒๖

[3] ฟาติฮะฮฺ / ๕

[4] อะฮฺซาบ / ๑๗

[5] บะเกาะเราะฮฺ / ๔๕

 

 index