back

คำถามที่ ๒๔ : การสาบานด้วยกับนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺเป็นชิริกไหม

next

คำถามที่ ๒๔ : การสาบานด้วยกับนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺเป็นชิริกไหม

คำตอบ : การอธิบายคำว่า เตาฮีด และ ชิริกต้องพิจารณาจากโองการและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านเป็นแบบฉบับที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดต่อการจำแนกความจริงออกจากความเท็จ และเตาฮีดออกจากชิริก

บนพื้นฐานข้างต้นเป็นการดีหากเราจะใช้วะฮียฺ และแบบฉบับการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นหลักในการจำแนกแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นชิริกหรือไม่ เพื่อขจัดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความอคติทั้งหลาย ต่อไปนี้จะนำเสนอหลักฐานที่ชัดเจนจาก อัล-กุรอาน และซุนนะฮฺที่อนุญาตให้สาบานต่อนามอื่น ที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.)

๑. อัล-กุรอาน นอกจากกล่าวสาบานต่อความเป็นอมตะของตัวเอง และพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้ว ยังได้กล่าวสาบานต่อสิ่งถูกสร้างที่มีคุณค่ายิ่ง  เช่น ชีวิตของท่านศาสดา จิตของมนุษย์ ปากกาอันเป็นแหล่งของการเขียน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว กลางวันและกลางคืน ท้องฟ้าและพื้นดิน เวลา ภูเขา และทะเล จะขอยกบางโองการเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

لَعَمْرُكَ إِنَّهُمْ لَفِي سَكْرَتِهِمْ يَعْمَهُونَ

ขอสาบานด้วยชีวิตของเจ้า แน่นอนแท้จริงพวกเขาอยู่ในการมึนเมาหลงทาง  [1]

وَالشَّمْسِ وَضُحَاهَا وَالْقَمَرِ إِذَا تَلَاهَاوَالنَّهَارِ إِذَا جَلَّاهَا وَاللَّيْلِ إِذَا يَغْشَاهَا وَالسَّمَاءِ وَمَا بَنَاهَاوَالْأَرْضِ وَمَا طَحَاهَاوَنَفْسٍ وَمَا سَوَّاهَا  فَأَلْهَمَهَا فُجُورَهَا وَتَقْوَاهَا

ขอสาบานด้วยดวงอาทิตย์ และแสงสว่างของมัน  และด้วยดวงจันทร์เมื่อโคจรตามหลังมัน และด้วยเวลากลางวันเมื่อมันเจิดจรัส และด้วยเวลากลางคืนเมื่อความมืดปกคลุม และด้วยชั้นฟ้าพร้อมสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมัน และด้วยแผ่นดินที่พระองค์ทรงแผ่มัน และด้วยชีวิตที่พระองค์ทรงทำให้มันสมบูรณ์  แล้วพระองค์ทรงดลใจมันให้รู้ทางชั่วและทางสำรวมของมัน    [2]

وَالنَّجْمِ إِذَا هَوَى

ขอสาบานด้วยดวงดาวเมื่อมันคล้อยตกลงมา [3]

ن وَالْقَلَمِ وَمَا يَسْطُرُونَ

นูน ขอสาบานด้วยปากกา และสิ่งที่พวกเขาขีดเขียน [4]

وَالْعَصْر ِإِنَّ الْإِنسَانَ لَفِي خُسْرٍ

ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน [5]

وَالْفَجْرِ وَلَيَالٍ عَشْرٍ

ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ [6]

وَالطُّور وَكِتَابٍ مَّسْطُورٍفِي رَقٍّ مَّنشُورٍ وَالْبَيْتِ الْمَعْمُورِ وَالسَّقْفِ الْمَرْفُوعِ  وَالْبَحْرِ الْمَسْجُورِ 

ขอสาบานต่อภูเขาอัฏฏูร ขอสาบานต่อคัมภีร์ที่ถูกจารึกไว้ ในม้วนกระดาษหรือหนังที่กางแผ่ ขอสาบานต่ออาคารที่ถูกเยือนอย่างสม่ำเสมอ ขอสาบานต่อท้องฟ้าที่อยู่เบื้องสูง ขอสาบานต่อทะเลที่ลุกโชติช่วง [7]

การสาบานต่อบรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ ของโลกและจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในซูเราะฮฺ อันนาซิอาต อัล-มุรซะลาต อัล-บุรุจญฺ อัฎ-ฏอริก อัล-บะลัด อัตตีน และอัฎฎุฮา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากการสาบานต่อนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นสาเหตุของการนำไปสู่การเป็นชิริก หรือการเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ แน่นอนอัล-     กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะ จะไม่กล่าวถึงสิ่งนั้นอย่างเด็ดขาด นอกเหนือจากนั้นถ้าหากการสาบานดังกล่าว เป็นการสาบานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮฺ (ซบ.) จำเป็นอย่างยิ่งที่อัล-กุรอานต้องกล่าวไว้อย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

๒. บรรดามุสลิมทั้งหลายถือว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือแบบฉบับสำหรับการปฏิบัติตน จึงได้ยึดถือการกระทำและความประพฤติของท่าน เป็นตราชั่งในการแยกแยะสิ่งถูกผิด บรรดานักวิเคราะห์ ผู้เขียนหนังสือ    ซิฮาฮฺ และมะซานีดได้รายงานไว้ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สาบานต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.)

  ท่านอะฮฺมัด บิน ฮัมบัล ผู้นำนิกายฮัมนบะลียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือมุซนัดของท่าน โดยรายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า

فلعمرى لأن تتكلم بمعروفٍ و تنهى عن منكرٍ خيرٌ من أن تسكت

ขอสาบานด้วยชีวิตของฉัน ถ้าท่านทำการเชิญชวนไปสู่ความดีและกำชับความชั่วดีกว่าการนิ่งเฉย [8]

มุสลิม บิน ฮัจญาจ ได้บันทึกไว้ในหนังสือเซาะฮียฺของตน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในหกหนังสือซิฮาฮฺ ดังนี้

جاء رجل إلى النّبى (ص فقال يا رسول الله أىّ  الصّدقة  اعظم اجراً ؟  فقال أما و أبيك لتنبانّه أنّ تصدّق وأنت صحيحٌ شحيح تخشى الفقر وتأمل البقاء

มีชายคนหนึ่งถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า รางวัลของการเซาะดะเกาะฮฺใดยิ่งใหญ่ที่สุด  ท่านตอบว่า ขอสาบานในนามแห่งบิดาของท่านว่า ท่านจะได้รู้อย่างแน่นอน ถ้าท่านบริจาคในสภาพที่ท่านสมบูรณ์ มีความละโมบ กลัวในความยากจน และมีความหวังที่จะอยู่ตลอดไป [9]

ฉะนั้น ผู้ที่กล่าวหามุสลิมกลุ่มหนึ่ง ที่ถือว่าการสาบานด้วยนามอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺเป็นที่อนุญาต ว่าเป็นชิริกแล้ว ท่านจะอธิบายการกระทำของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าอย่างไร

๓. นอกเหนือจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้วยังมีแบบอย่างของบรรดาเซาะฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิด เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงการอนุญาตให้สาบานต่อนามอื่น ที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ

ท่านอิมามอะลี  (อ.) ได้กล่าวสาบานด้วยชีวิตของท่านหลายต่อหลายครั้งดังปรากฎในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺว่า

و لعمرى ليضعّفنَّ لكم التّيه من بعدى أضعافًا

ขอสาบานด้วยชีวิตของฉันว่า หลังจากฉันพวกท่านจะต้องเถลไถลหลงทางมากไปกว่านี้แน่นอน [10]

لعمرى لإن لم تنزع عن غيّك و شقاقك لتعرفنّهم عن قليلٍ يطلبونك

ขอสาบานด้วยชีวิตของฉัน ถ้าพวกท่านไม่ถอนตัวจากความเฉไฉ และความเคราะห์ร้ายของท่าน พวกท่านจะได้รู้จักพวกเขาแน่นอนว่าพวกเขาต้องการท่าน [11]

เป็นที่ประจักษ์ว่าหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งอัล-กุรอานและ       ริวายะฮฺ เราไม่อาจทำการอิจติฮาด (วินิจฉัย) หรือทำการอิซติฮฺซานได้ และไม่มีเหตุผลที่จะใส่ร้าย หรือกล่าวหาการกระทำของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน แบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และเซาะฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิดอย่างเช่นท่านอิมามอะลี (อ.) ว่าเป็นชิริก หรือเคารพสักการะสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลออฮฺ

บทสรุป จากหลักฐานทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งอัล-กุรอาน แบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และเซาะฮาบะฮฺ ทำให้รู้ว่า การสาบานด้วยนามอื่น ที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นที่อนุญาตและไม่ขัดต่อความเชื่อที่มีต่อเตาฮีด (ความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ด้วยเหตุนี้ ถ้า      ริวายะฮฺที่ได้ยกมาอ้างอิง ขัดแย้งกับความเชื่อที่ได้พิสูจน์แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการอธิบาย ตีความ หรือขยายความหมายของความเชื่อนั้น ไม่ให้ขัดกับหลักฐานที่แจ้งชัดทั้งอัล-กุรอานและริวายะฮฺ บางครั้งมีการกล่าวริวายะฮฺที่มีความหมายคลุมเครือ พร้อมทั้งกล่าวถึงตัวบทของริวายะฮฺนั้น ขณะเดียวกันได้มีการอธิบายคำตอบไว้ด้วย  เช่น

 

 

انّ رسول الله سمع عمر و هو يقول : وأبى فقال إن الله ينهاكم أن تحلفوا بآبائكم ومن كان حالفا فليحلف بالله أو يسكت

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ยินอุมัรสาบานด้วยนามของบิดาของท่าน ท่านกล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงห้ามพวกท่านไม่ให้สาบานในนามของบิดาของท่าน ใครที่สาบาน หรือสาบานในนามของอัลลอฮฺ หรือนิ่งเฉยเสีย [12]

แม้ว่าฮะดีซข้างต้นเมื่อเทียบกับริวายะฮฺ และอัล-กุรอานโองการที่อนุญาตให้สาบานด้วยนามอื่นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามฮะดีซนั้นได้ หรือละทิ้งฮะดีซโดยสิ้นเชิง ทว่าสามารถรวมฮะดีซนี้เข้ากับอัล-กุรอานโองการที่อนุญาต และริวายะฮฺตามที่กล่าวมาแล้วได้ ซึ่งจะได้ความหมายว่า ผู้ห้ามอุมัรฺม่ให้สาบานด้วยนามแห่งบิดาคือท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตลอดจนท่านได้ห้ามสาบานเฉกเช่นอุมัรแก่คนทุกคน ด้วยเหตุผลที่ว่า บิดาของท่านเหล่านั้นเป็นผู้เคารพรูปปั้น และเป็นชิริกโดยกำเนิดโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบุคคลที่เป็นกาฟิร ไม่มีค่าพอที่จะกล่าวสาบานในนามของเขา หรือสอนให้เขาทำการสาบาน



[1] ฮิจร์ / ๗๒

[2] ชัมซฺ  /๑-๘

[3] นัจมุ / ๑

[4] เกาะลัม / ๑

[5] อัซรฺ / -

[6] ฟัตฮฺ / -

[7] ฏูร /๑-๖

[8] มุซนัดอหะฮฺมัด เล่มที่ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๕ ฮะดีซบะชีร บิน เคาะซอซียะฮฺ ซะดูซียฺ

[9] เซาะฮียฺมุสลิม ญุซที่ พิมพ์ที่อียิปต์ กิตาบุซซะกาต บาบ บะยาน อันนะ อัฟเฎาะลัซเซาะอดะเกาะฮฺ เซาะดะเกาะตุ เซาะฮียฺ อัชชะฮีฮฺ หน้าที่ ๙๓-๙๔

[10] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ มุฮัมมัด อับดุ คุฏบะฮฺที่ ๑๖๑

[11] อ้างแล้ว จดหมายที่

[12] ซุนัน อัล-กุบรอ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๙ ซุนันนะซาอียฺ เล่มที่ หน้าที่ -

 

index