back

คำถามที่ ๑๑ : ชะฟาอะฮฺ (ความอนุเคราะห์) ที่ชีอะฮฺมีความเชื่อนั้นหมายถึงอะไร

next

คำถามที่ ๑๑ : ชะฟาอะฮฺ (ความอนุเคราะห์) ที่ชีอะฮฺมีความเชื่อนั้นหมายถึงอะไร

คำตอบ : ชะฟาอะฮฺเป็นอุซูล (หลักการ) ที่ชัดเจนของอิสลาม ทุกกลุ่มและทุกนิกายในอิสลามต่างยอมรับหลักการนี้ บนพื้นฐานของอัล-    กุร อานและฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของผลลัพธ์ก็ตาม แก่นแท้ของชะฟาอะฮฺหมายถึงมนุษย์ที่มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ มีความใกล้ชิดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติ พวกเขาได้วอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ให้พระองค์ทรงอภัยในความผิด หรือทรงเลื่อนชั้นตำแหน่งให้คนอื่นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

أَعطيتُ خمساوأُعطيتُ الشَّفاعة فادّخرتها لامّتي

พระองค์อัลลอฮฺ ทรงประทานให้กับฉัน ๕ อย่าง ทรงประทานชะฟาอะฮฺให้กับฉัน เพื่อฉันจะได้มอบสิ่งนี้แก่ประชาชาติของฉัน [1]

ขอบข่ายของชะฟาอะฮฺ จากทัศนะของอัล-กุอานชะฟาอะฮฺเป็นหลักการหนึ่งที่ไม่มีเงื่อนไข (กัยดฺ) ชะฟาอะฮฺจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้ชะฟาอะฮฺได้รับอนุญาตจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เสียก่อน กลุ่มชนที่สามารถให้ชะฟาอะฮฺได้ต้องมีพลังจิตที่สูงส่ง เป็นผู้นอบน้อมและมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษต่อพระองค์ อัล-กุรอานกล่าว

لا يَمْلِكُونَ الشَّفَاعَةَ إِلَّا مَنِ اتَّخَذَ عِندَ الرَّحْمَنِ عَهْدًا

พวกเขาไม่มีอำนาจในการชะฟาอะฮฺ นอกจากผู้ที่ได้ทำสัญญาไว้กับพระผู้ทรงกรุณาปรานี  (มัรยัม/๘๗)

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

يَوْمَئِذٍ لَّا تَنفَعُ الشَّفَاعَةُ إِلَّا مَنْ أَذِنَ لَهُ الرَّحْمَنُ وَرَضِيَ لَهُ قَوْلًا

วันนั้น การชะฟาอะฮฺ จะไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกจากผู้ที่พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงอนุญาตแก่เขา และพระองค์ทรงพอพระทัยในคำพูดของเขาเท่านั้น [2]

บุคคลทีจะได้รับชะฟาอะฮ ต้องมีคุณสมบัติเพียงพอในการรับชะฟาอะฮฺด้วย หมายถึงมีอีมานที่มั่นคงต่ออัลลอฮฺ มีจิตวิญญาณที่แนบแน่นกับผู้ประทานชะฟาอะฮฺ ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าบรรดากาฟิรทั้งหลายที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ หรือมุสลิมบางคนที่กระทำความผิด เช่น มุสลิมที่ไม่ดำรงนะมาซ ไม่ปฏิบัติตามกฎชัรอียฺของพระองค์ จิตวิญญาณของเขามิได้แนบแน่นต่อผู้ประทานชะฟาอะฮฺ

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัตินะมาซ และไม่เชื่อในวันตอบแทนดังนี้ว่า

فَمَا تَنفَعُهُمْ شَفَاعَةُ الشَّافِعِينَ

ดังนั้นการชะฟาอะฮฺของบรรดาผู้มีชะฟาอะฮฺจะไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่พวกเขา [3]

อัล-กุรอานกล่าวถึงพวกกดขี่ว่า

مَا لِلظَّالِمِينَ مِنْ حَمِيمٍ وَلَا شَفِيعٍ يُطَاعُ

  ไม่มีมิตรที่สนิทสนมสำหรับบรรดาผู้อธรรม และไม่มีผู้อนุเคราะห์คนใดที่จะถูกเชื่อฟัง [4]

ปรัชญาของชะฟาอะฮฺ การชะฟาอะฮฺเหมือนกับการเตาบะฮฺ เป็นหวังแห่งการมีความหวังสำหรับผู้ที่หลงทางและได้กระทำบาป และเขาได้ละทิ้งสิ่งเหล่านั้น ช่วงชีวิตที่เหลือเขาได้กลับตัวกลับใจเป็นบ่าวที่ดี เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพราะผู้ที่ได้กระทำบาป เมื่อเขามีความรู้สึกว่าเขาตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด (ไม่ใช่ทุกเงื่อนไข) เขาสามารถขอชะฟาอะฮฺแก่ผู้ทีสามารถให้ชะฟาอะฮฺแก่เขาได้ แต่ต้องพยายามรักษาพรมแดนนี้เอาไว้ให้มั่นคงและทำในสิ่งที่ดีกว่า

ผลลัพธ์ของชะฟาอะฮฺ

บรรดานักตัฟซีร (ผู้อธิบายอัล-กุรอาน) มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องที่ว่า ชะฟาอะฮฺนั้นคือการอภัย บาป หรือว่าการยกระดับฐานันดรของบุคคลนั้น แต่เมื่อพิจารณาที่พระวัจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่กล่าวว่า  ชะฟาอะฮฺของฉันสำหรับคนที่กระทำบาปใหญ่ ถือว่าทัศนะแรกถูกต้อง

انّ شفاعتي يوم القيامة لأهل الكبائر من أمتي

ชะฟาอะฮฺของฉันในวันกิยามะฮฺนั้น สำหรับประชาชาติของฉันผู้ที่ทำบาปใหญ่ [5]

 

 



[1] มุซนัดอะฮฺมัด เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๐๑, เซาะฮียฺบุคอรียฺเล่มที่ ๑ หน้าที่ ๙๑ พิมพ์ที่อียิปต์

[2] ฏอฮา / ๑๐๙

[3] มุดัซซิร /๔๘

[4] ฆอฟิร / ๑๘

[5] ซุนัน อิบนิมาญะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๘๓, มุนัดอะฮฺมัด เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๑๓, ซุนันอะบีดาวูด เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๓๗, ซุนันติรมิซียฺ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๕

 

index